Categories Recent Posts Tags
https://www.hsemmotor.com/

ต้องเกริ่นก่อนว่าบทความนี้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ รถสามล้อบรรทุก มาจากเว็บจัดจำหน่ายรถที่น่าเชื่อถือในประเทศไทย หรือบริษัท HSEM MOTOR เว็บไซต์  https://www.hsemmotor.com/ โดยรถสามล้อบรรทุกผลิตออกมาให้สามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ทั้งการขับเคลื่อนบรรทุกขนย้ายสิ่งของ  โดยมีหลายขนาด ซึ่งปกติมีขนาดกำลังและสัณฐานมากเฉพาะบรรดาที่ใช้เพื่อการค้า ซึ่งส่วนที่ใช้ในการบรรทุกมีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่ก็ได้ หรือรถที่มีเครื่องทุ่นแรงสำหรับยกสิ่งของที่จะบรรทุกในกระบะ หรือรถที่มีกระบะบรรทุกสามารถยกเท และรวมถึงรถซึ่งส่วนที่ใช้บรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย 

ประวัติของรถสามล้อบรรทุกในประเทศไทย 

  • ปี พ.ศ. 2500  

ประเทศญี่ปุ่นเริ่มจำหน่ายรถสามล้อบรรทุก ยี่ห้อไดฮัทสุ (Daihatsu) รุ่นมิดเจ็ท ดีเค (Midget DK) เป็นรถสองจังหวะ (ZA 250cc) มีไฟหน้าหนึ่งดวง และมีที่จับบังคับเหมือนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นรถต้นแบบรถตุ๊กๆ ของไทย 

  • ปี พ.ศ. 2503  

ประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ารถสามล้อบรรทุก ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเคจากญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เป็นจำนวน 30 คัน มีการออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในย่านเยาวราช โดยคนไทยในยุคนั้นเรียกกันว่า “สามล้อเครื่อง” ซึ่งต่อมาภายหลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้น จึงเพิ่มการนำเข้ารุ่นมิดเจ็ท เอ็มพี 4 (Midget MP4) เป็นรถรุ่นใหม่ที่เพิ่มส่วนประตูสองข้าง จึงทำให้รถรุ่นนี้จึงเป็นรถต้นแบบของรถตุ๊กๆ ที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อรถสามล้อบรรทุกได้รับความนิยมจากคนไทย จึงมีการนำเข้ารถยี่ห้ออื่นๆ ตามมา  

  • ปี พ.ศ. 2508 

จากวิวัฒนาการของการนำรถสามล้อบรรทุกบรรทุกจากญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง โดยมีการเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ จึงทำให้ทางราชการเตรียมยกเลิกรถตุ๊กๆ เนื่องจากเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร 

รถสามล้อบรรทุกผลิตมาเพื่อตอบสนองความต้องการ คือ 

  • ด้านการเกษตรกรรม  
  • ด้านการขนส่ง สำหรับในพื้นที่จำกัดเพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 
  • ด้านอาชีพอื่นๆ หรือร้านค้าที่อยู่กับที่ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ 

ปัจจุบันรถสามล้อบรรทุกมีการประดิษฐ์ในรูปแบบพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้งานกันในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทยก็ได้มีการนำรถดังกล่าวมาใช้งานแพร่หลายมากขึ้น จึงทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงจากการใช้งาน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ มีการปลดปล่อยไอเสียหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอีกด้วย